ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
ด้านการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต

....1. ด้านแนวคิดเสริมสร้างความเป็นนานาชาติและความเป็นไทยควบคู่กันไป
.....2. ด้านจุดมุ่งหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ มีแนวโน้มเน้นคุณภาพการคิดเป็นทำเป็น ความคิดสร้างสรรค์การพัฒนาทักษะทางด้านภาษา คอมพิวเตอร์และการเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม
.....3. ด้านหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย มีการยอมรับจากนานาประเทศ เน้นความเป็นสากลเน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง
.....4. ด้านผู้เรียน มีความหลากหลายเชื้อชาติ และสัญชาติ
.....5. ด้านผู้สอน ควรค้นคว้าวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ มากขึ้น
.....6. ด้านภาษาที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ
.....7. ด้านสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบให้ใช้ได้ง่าย
.....8. ด้านเกณฑ์ในการคัดเลือก นักเรียน ควรมีคณะกรรมการของโรงเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนโดยทำเป็นเกณฑ์กลางที่ชัดเจนของโรงเรียน
.....9. ด้านการวัดและการประเมินผล ประเมินตามสภาพความเป็นจริง
.....10. ด้านระบบการศึกษาเป็นระบบ 12 ปี
.....11. ด้านการบริหารงบประมาณ เป็นไปตามความเป็นจริงให้อิสระกับโรงเรียนนานาชาติในการบริหารงบประมาณ โดยการยกเลิกการควบคุมการกำหนดค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
12. ด้านการบริหารบุคลากร บุคลากรต้องพัฒนาอยู่เสมอมิฉะนั้น จะกระทบคุณภาพทางวิชาการ
13. ด้านการบริหารอาคารสถานที่ จัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสม สถานศึกษาและสถานการณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้อง นั่งเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว
14. ด้านคุณภาพของนักเรียน คุณภาพของนักเรียนจะสูงขึ้น เด็กมีการเรียนรู้ที่ทันสมัย กล้าแสดงออกเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ มากขึ้น มีทักษะที่หลากหลาย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมต่างประเทศได้
.....ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ซึ่งปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศใดที่ประกอบด้วยกำลังคนที่มีการศึกษาสูง ประชาชนย่อมมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มากเป็นเงาตามตัว แต่สภาพปัจจุบันคุณภาพการศึกษาไทยมีมาตรฐานค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของอีกหลายประเทศในระดับเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เป็นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบและรอบด้าน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเทศชาติสู่ยุคโลกาภิวัตน์โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของชาติ มีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นมาตรฐาน (รุ่ง แก้วแดง, 2543, หน้า 45) การแก้ปัญหาดังกล่าว อีกแนวทางหนึ่งที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการเมืองการปกครอง คือ การจัดการศึกษานานาชาติเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีประสิทธิภาพโดยจัดคู่ขนานไปกับการศึกษาปกติ เพราะการจัดการศึกษานานาชาติเป็นการศึกษาที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้เรียนทุกระดับให้เข้าใจเกี่ยวกับการเป็นสากลในด้านภาษาวัฒนธรรมและเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ทำให้มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล ทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544, หน้า 142) เนื่องจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติกล่าวคือ โรงเรียนนานาชาติมีหลักสูตรที่หลากหลาย มีแนวปฏิบัติ เกณฑ์ และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาแต่เป็นการประเมินส่วนย่อย โดยไม่ได้คำนึงถึงระบบใหญ่ของการจัดการศึกษา ประกอบกับการศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษารูปแบบของการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หลังจากประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ จึงมีคำว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต เพื่อจะได้รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคตจะมีประโยชน์โดยตรงต่อการวางแผนกำหนดนโยบาย การตัดสินใจตลอดไปจนถึงการกำหนดกลยุทธ์ กลวิธีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคตให้มีประสิทธิผลต่อไป
.....แนวคิดองค์การในฐานเป็นระบบ (Kast & Rosenzweig, 1985, p.15) ซึ่งสภาพแวดล้อมจะมีผลกระทบต่อระบบองค์การและระบบต่าง ๆ ขององค์การ คือ สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบสภาพสังคมไทยในอนาคต และสถานภาพสังคมไทยในอนาคตดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยขั้นพื้นฐานในอนาคต และส่งผลกระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต

.....สภาพสังคมไทย หมายถึง ลักษณะสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านประชากรศิลปะและวัฒนธรรม สาธารณสุข เศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยประชาชนทุกคนที่อยู่ในวัยเรียนต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อยที่สุด คือ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6รูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติหมายถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ขอองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคตตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอนาคต หมายถึง ช่วงเวลาที่จัดการศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2556